อานิสงส์ของการเดินจงกรม จาก จังกะมะ สูตร อังคุตตะระนิกาย
ปัญจะ
(พระพุทธเจ้า ตรัสสอนว่า) ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม
๕
ประการนี้ ใน ๕ ประการนี้ เป็นไฉน ?..
- คือ ภิกษุผู้เดินจงกรม ย่อมเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อการเดินทางไกลที่มีระยะทางไกล
ๆ อดทนกับระยะเวลาที่ยาวนาน ทำงานได้ทน ทนได้ทุกงาน เมื่อเราอดทน
จะเป็นทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน ทำให้คนทั่วไปยอมรับนับถือในความอดทน
ใจเย็น รอบคอบ ไม่บุ่มบ่าม มีเหตุ มีผล
อีกทั้งเทวดาก็รักเรา เมื่อเรา มีความอดทนฯ
- ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ทนต่อการภาวนา ฝึกกรรมฐาน ทนการถือธุดงค์ ทนต่อความเพลีย ความโกรธ โลภ หลง อิจฉา ทนต่อมานะที่เป็นกิเลส ทนการทดสอบ ทนยอมรับฟังคำสอนได้อย่างเข้าใจดี ทนต่อการนั่ง ยืน ก้ม
เงย ทนต่อการฟังเพื่อฆ่ากิเลสให้บรรลุธรรมได้ง่าย ๆ ไม่เมื่อย ไม่ขัด ยอก
ไม่บ่น ไม่ท้อแท้
ไม่รำคาญ มีใจที่เพลิดเพลินในการภาวนาฆ่ากิเลสฯ จนกว่าจะบรรลุนิพพาน ที่แสนสุข สบาย
- ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ไม่ป่วย ไม่อ้วน ไม่ฉุ ไม่อ่อนแอ หุ่นดี สมส่วนสัด น่าดู น่าชม แข็งแรง เข้มแข็ง ทำงานได้แทบทุกอย่างที่ไม่ผิดศีล ว่องไว รวดเร็ว กระฉับกระเฉง ไม่อืดอาด ไม่ง่วงนอน ฯ
- อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ฉัน รับประทานแล้วย่อมย่อยได้ง่ายดี ทำให้อายุยืน
เพราะอาหารย่อยง่าย เพิ่มการออกกำลังกาย บริหารกาย สุขภาพดี
ฯ จากหลักการนี้ แพทย์ในปัจจุบันก็น่าจะเอาไปจากหลักการที่
พุทโธ (ซึ่งท่านเคยเป็นอดีตนายแพทย์ใหญ่) ได้นำมาสั่งสอนไว้ในพระไตรปิฎกมาก่อนๆ
แล้ว นี่เอง
- จิตที่เป็นสมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมนี้ ย่อมจะตั้งสมาธิอยู่ได้นาน
ทรงสมาธิอยู่ได้นาน นิมิตก็แน่วแน่ เพราะว่า ถ้าได้สมาธิ ได้ความสงบ ได้ปีติ หรือได้นิมิตจากการเดินจงกรมซึ่งเป็นท่าที่เคลื่อนที่
เดินกลับไป กลับมา ๆ แล้ว เมื่อจะไปนั่ง ไปยืน นอน
หรือท่าอื่น ๆ การรักษา - ทรงสมาธิไว้ก็จะทำได้ง่าย เพราะเป็นท่าที่ไม่ต้องเคลื่อนที่ เป็นท่านิ่งๆ ใจก็จะมีความแน่วแน่ ใจที่มีสมาธิแล้ว จะทนต่อการกระทบทางตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส ทางร่างกายกับการแตะต้องสัมผัส กระทบ
และทนในทางใจที่คิดๆ ทนต่อผัสสะต่างๆ เมื่อเราจะไปนั่ง
ยืน ไปทำวัตร ไปทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา เช่น นักเรียน นักศึกษา
หรือไปภาวนา ไปทำงานอื่น ๆ อ่านหนังสือ อ่านพระไตรปิฎก พิจารณาธรรมตามบทธรรม ต่างๆที่เราสนใจ เพื่อให้บรรลุธรรมเร็วๆ ก็จะทำได้ง่าย ราบรื่น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อานิสงส์ในการเดินจงกรม
๕
ประการแล
( ผู้ที่เสนอให้พระ
และนักภาวนาทั้งหลาย เดินจงกรม (+โรงอบกาย) ก็คือ หมอชีวก โสดาบัน
เมื่อสองพันห้าร้อยกว่า กว่าปีมาแล้ว
เพื่อแก้ร่างกายที่ประกอบด้วยโทษ มีโรคมาก เช่น
โรค เสมหะ อ้วน ไขมัน ฯลฯ จากพระไตรปิฎก วินัยปิฎก
จุลวรรค ทุติยภาค เล่ม ๙/๗๙/๒๙ ชุด ๙๑ เล่ม )
จากวัดป่าดงใหญ่
ถนน ๒๔๐๘ ก.ม. ๕+๗๑๒ ม. เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๒ บ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ
อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๑๕๐ สอนเพื่อความสุขจากอริยะทั้ง ๘
ลักษณะของทางจงกรมที่ดี ๕ อย่าง คือ
- พื้นทางจงกรมที่เรียบ ไม่ขรุขระ
ไม่แข็ง ถ้ามีหลุม เป็นแอ่ง แข็งมาก มีหิน
ดิน เศษไม้ รากไม้
ตอไม้ เศษกระเบื้องหรืออย่างอื่น มีร่อง เมื่อจะเดิน จะวางเท้าก็ไม่สะดวก จิตก็จะไม่ได้เอกัคคะตา คือไม่เป็นอารมณ์เดียว ไม่ได้สมาธิ จะแก้ฟุ้งซ่านไม่ได้
ข่มกามราคะไม่ได้ กรรมฐานไม่เจริญ
บางที่อาจจะเกลี่ยทางเดินด้วยทรายให้พื้นเรียบ ไม่เอียงไม่สะดุด
สะดวกในการเดิน แต่ว่า.. พระจะขุดดินเหนียวเองไม่ได้ ก็ให้โยมหรือสามเณรช่วยทำ จะเป็นบุญกับโยมมาก ๆ โดยพระ จะพูดด้วยคำพูดที่ไม่ผิดวินัย ส่วนดินที่พระขุดได้ ไม่ผิดพระวินัย ก็คือ
ดินทราย หิน หรือดินที่เพิ่งจะมีการเทใหม่
ๆ ภายใน ๔ เดือน ที่ไม่มีตัวสัตว์เล็ก ๆ
ไม่มีต้นไม้ ไม่มีรากไม้ที่ยังไม่ตาย
ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์ 202 KB