... ๘. ใช้ปัญญา มาพิจารณา ร่างกาย หรือรูป
และใช้ปัญญามาพิจารณาใจ หรือนาม
ทั้งภายนอก ใน ทุกๆเวลา ทุกๆ ที่
จนรู้ว่าทุกๆ อย่าง ว่าเป็นไตรลักษณ์ (ยกเว้นนิพพาน ที่ไม่เป็นไตรลักษณ์ .. นิพพาน จะสุข เที่ยง) คือ ล้วนแต่อยู่ภายใต้ ความทุกข์ (ทุกขัง =
บีบคั้น ทรมาน ทนได้ยาก
แปรปรวน ตรงกันข้ามกับสุข), รู้ว่ารูป นาม อยู่ภายใต้ ความไม่แน่ (อนิจจัง = ตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้าง เปลี่ยนแปลงบ้าง ชั่วคราวบ้าง
ขัดแข้งกับความเที่ยงบ้าง), รู้ว่ารูป
นาม อยู่ภายใต้ การจะ บังคับเอาตามใจ ที่อยาก ไม่ได้ ( อนัตตา = ว่างเปล่า จะมีเจ้าของก็มีเพียงเฉพาะแต่
มีแบบ สมมุติเอา แต่..จะไม่มีเจ้าของในแบบที่แท้จริง
(จะมีก็เพียง รูป นาม เท่านั้น ไม่ใช่ไม่มี
มีอยู่) จะบังคับเอาตามใจไม่ได้ มีเหตุมีผล เมื่อมีการกระทำ ก็จะต้อง มีผล ตรงกันข้ามกับ อัตตา (อัตตา = จะบังคับเอาตามใจ เมื่อไหร่?
ก็ได้) ) ...
แล้ว ก็ให้พยายามน้อมจิตเข้าไปหา อาสะวักขะยะญาณ คือญาณที่จะฆ่ากิเลสจนหมด เพื่อจะได้ใช้ปัญญาอย่างเต็มที่ จนรู้จัก อริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือ ๑. รู้จักทุกข์ คือ
รู้ปัญหา, ๒. รู้จักสมุทัย คือ รู้ตัณหา สาม ,
๓. รู้จักนิโรธ คือรู้นิพพาน, ๔. รู้จักมรรค
คือรู้ศีล สมาธิ ปัญญา ... รู้ ความจริง .. จนปล่อย วางหมดทุกรูป ทุกนาม วางแบบไม่ต้องถือ นิพพาน
แต่เวลาปกติก็ทำหน้าที่ดี ๆไป...
หรือ คือ รู้ในขั้นที่
๑. รู้ ว่าอริยสัจจ์
๔ คืออะไร? ( สัจจะญาณ
= รู้ความจริง เนื้อหา
เรื่องราว ) เช่น
๑. รู้ใน ทุกข์ ว่า คือปัญหา ความทุกข์, ๒. รู้ใน สมุทัย
ว่า คือต้นเหตุ สาเหตุของทุกข์ โดยรู้ว่ามี
ความอยากหรือ ตัณหาทั้ง ๓ ที่จะเป็นต้นเหตุ เป็นสาเหตุของทุกข์ ( ตัณหา ๓ คือมี ๑. อยากเกิน
ในกาม ๒. อยากเกิน ในความมี
ความเป็น ๓. อยากเกิน ในความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ), ๓. รู้ใน นิโรธ
คือ ดับทุกข์ ดับตัณหา หรือนิพพาน, ๔. รู้ใน มรรคทั้ง ๘ ว่า มีอะไรบ้าง มีกี่ข้อ รายละเอียดเป็นอย่าง ไร? นี่คือรู้ สัจจะญาณ คือ รู้ว่า อะไร เป็นอะไร? ( จะทำอะไร? )
รู้ในขั้นที่
๒. รู้ ว่าจะทำอย่างไร? ( กิจจะญาณ = รู้ว่า จะต้องทำอย่างไร
ใน ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ ใน มรรค นั้น
) เช่น ในทุกข์ ก็รู้ว่า จะต้องกำหนดรู้จักทุกข์ให้ได้, ในสมุทัยก็รู้ว่าจะต้องละตัณหาทั้ง
๓ ให้ได้, ในนิโรธ ก็รู้ว่า จะต้องทำนิโรธ
หรือ ทำนิพพานให้แจ้งชัดให้ได้, ในมรรค ก็ รู้ว่า จะต้องเจริญมรรคให้ได้
นี่
คือรู้ ในขั้น กิจจะญาณ คือ รู้ว่า
เป็นอย่างไร? จะต้องทำอย่างไร จะ จะ จะ ต้องทำให้ได้, ( ขั้น กำลังทำ )
รู้ในขั้นที่ ๓ . รู้ ว่า ทำได้จริง ๆ เสร็จเรียบร้อยทั้งหมด แล้ว
( กะตะญาณ = รู้ว่า
ได้ทำสำเร็จ แล้ว บรรลุแล้ว ) เช่น รู้ว่าได้กำหนดรู้ทุกข์
ในเรื่องทุกข์ ๆ เรียบร้อยแล้ว, รู้ว่าได้ละตัณหาทั้ง
๓ ในเรื่อง สมุทัย ได้หมดทุกตัวเรียบร้อยแล้ว , รู้ว่าได้บรรลุนิพพาน ในเรื่อง นิโรธ เรียบร้อยแล้ว
, รู้ว่าได้ทำให้ มรรค ๘ เจริญเต็มที่บริบูรณ์ครบในเรื่องมรรค เรียบร้อยแล้ว, รวม ๑๒ อย่าง
( ปริวัฏฐะ ๓ ( ๓ คูณ ๔ = ๑๒ ) อาการ ๑๒ ) นี่ คือ รู้ในขั้น กะตะญาณ คือ รู้ว่า ได้ทำสำเร็จแล้ว บรรลุแล้ว และวาง วาง วาง ... แล้วก็ จะบรรลุ นิพพาน มีความสุข
ในปัจจุบันนี้เอง. ( ทำได้แล้ว )
... ๗. ฝึกสมาธิ จนได้ฌาน หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด ฌานแปด.. เพื่อ ข่มกิเลสให้นิ่ง เพื่อความสุข
...
๖. ไปสู่ที่สงบ
สงัด.. อยู่วิเวก
ไม่คลุกคลีกันเกินไป กำจัดนิวรณ์ทั้ง ๕ มี
กาม โกรธ ง่วง
ฟุ้ง สงสัย
... ๕. มีสติ ( ระลึกได้ )
ทั้งทางร่างกาย และทางใจ. ตามสติปัฏฐาน ๔ ทางร่างกาย+รูป ทางเวทนา จิต ทางธรรม แล้ววาง
... ๔. ให้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น... ก็ควรจะนอนประมาณ ๔ ชั่วโมง จาก ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นป่วย
ที่เหลือก็เพียรละกิเลส
... ๓. ให้ประมาณในการกิน+ใช้+บริโภค..คือฉันมื้อเดียว
กะว่าเหลืออีกประมาณ ๔- ๕ คำ จะอิ่ม ก็ดื่มน้ำ จะพอดีกับภาวนาฆ่ากิเลส
... ๒. สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ทวาร มีทางตา ทางหู จมูก ลิ้น ร่างกาย ใจ คือบางครั้งก็ปิด
บางครั้งใช้ทุกทางแบบไม่ให้กิเลสมาเกิดได้ง่าย ๆ
เริ่ม ... ๑. มีศีล มีปาฏิโมกข์ ระเบียบ วินัย มีศีล ๕ มีศีล ๘ ของโยม ศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล ๒๒๗
ข้อ ของพระ และมีกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ข้อ
ศีล ก็คือการทำหน้าที่ดีๆ ของครู
อาจารย์ ศิษย์ อย่างไม่บกพร่อง ทำหน้าที่ ที่ ดี ๆ ของพ่อ แม่
สามี ภรรยา
ลูก อุบาสก อุบาสิกา
เจ้านาย ลูกน้อง นักบริหาร นักบวช ราชการ พ่อค้า
เกษตรกร นักเรียน นักพัฒนา ลูกจ้าง
การทำตามข้อวัตร เช่น วัตร ๑๔ ให้ดี สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง, ศีล คือการควบคุมร่างกาย และวาจาให้ถูกต้อง
เรียบร้อย เป็นปกติ ตามพระปาฏิโมกข์ และนอกนั้นอีก ไม่เบียดเบียนตัวเอง ผู้อื่น สัตว์อื่น